ธรรมะ talk

 

เว็บบอร์ดแบ่งปันแนวคิดดีๆที่นี่การปฎิบัติบำเพ็ญศีลต่างๆครับ
ผู้เขียน : การปฎิบัติบำเพ็ญศีลต่างๆครับ   หัวข้อ : การปฎิบัติบำเพ็ญศีลต่างๆครับอ่าน 841 / ความคิดเห็น 1
รูปประจำตัว
การปฎิบัติบำเพ็ญศีลต่างๆครับ
  • 0 กระทู้ที่เริ่มไว้
รูปไอคอน
หัวข้อ : การปฎิบัติบำเพ็ญศีลต่างๆครับ
5/6/2555 21:37:00

การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่มีโทษ มีแต่คุณ
คือจิตไม่ขุ่นมัว จิตผ่องใส จิตเบิกบาน
จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีความสุข ไม่มีความทุกข์
จะเข้าสู่สังคมใด ๆ ก็องอาจกล้าหาญ
การทำความเพียร เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นแล้วจะ...
ไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีความเกียจคร้านต่อการงาน ทั้งทางโลกทั้งทางธรรม
จากนั้นก็เป็นปัญญาที่จะมาเป็นกำลัง เมื่อปัญญาเกิดขึ้นแล้วรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์
จะเรียนทางโลกก็สำเร็จ จะเรียนทางธรรมก็สำเร็จ
พระพุทธเจ้าท่านจึงสั่งสอนอบรม ให้เกิดให้มีขึ้นมาในเบื้องต้นตั้งแต่ศีล
ศีลเป็นที่ตั้งของสมาธิ สมาธิเป็นที่ตั้งของปัญญา
ไม่ว่าศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางแห่งวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยกัน

หลวงปู่ขาว อนาลโย

การเดินจงกรม

การเดินจงกรม คือ การเดินเป็นเส้นตรงระยะไม่เกิน ๓ เมตร กลับไปกลับมา ขณะที่เดินนั้น จะต้องมีสติกำหนดอิริยาบถให้ทันปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา การกำหนดอิริยาบถให้ทันปัจจุบัน คือการพูดค่อยๆ หรือนึกในใจตามกิริยาอาการที่กำลังกระทำอยู่ โดยพูด หรือนึกพร้อมกับกิริยาอาการที่กระทำอยู่ (ไม่พูดก่อนหรือหลังการกระทำ) และกำหนดใจให้มั่นอยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำตามสั่งนั้นเป็นช่วงๆ เรียกว่า ขณิกะสมาธิ

 

อานิสงส์ของการเดินจงกรม ๕ อย่าง
๑. ทนต่อการเดินทาง คือเดินทางได้ไกล
๒. ทนต่อการทำความเพียร คือทำความเพียรได้มาก
๓. อาหารที่บริโภคเข้าไปแล้วย่อมจะย่อยได้ง่าย
๔. อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นเวลาเดินจงกรมจะไม่เสื่อมง่าย
๕. การเดินจงกรมนั้นจิตก็สามารถที่จะรวมได้
และเป็นการบริหารร่างกายให้แข็งแรง โรคที่จะมาเบียดเบียนก็น้อยลง

 

การนั่งสมาธิ

การนั่งสมาธิ


การนั่งสมาธิ เมื่อเดินจงกลมพอกับความต้องการแล้ว และต้องการจะนั่งสมาธิต่อ ให้ปฏิบัติดังนี้ หลังจากยกเท้ามาวางเคียงกันเรียบร้อยแล้ว (ตามวิธีการเดินก้าวสุดท้ายเมื่อสุดทาง) มือทั้งสองยังคงวางซ้อนกันที่หน้าท้อง

๑. กำหนดความรู้สึกว่า "อยาก.....นั่ง.....หนอ" (๓ ครั้ง)

๒. ปล่อยแขนทีละข้างลงตามสบายแนบลำตัว ใช้องค์ภาวนาว่า "ยก.....หนอ, ลง.....หนอ, ปล่อย.....หนอ"

อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกมือขวาเคลื่อนออกจากหน้าท้องมาอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับลำ ตัว เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับทำกิริยาปล่อยแขนลงจนเกือบตรงข้างลำตัว เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ปล่อย" พร้อมกับทำกิริยาปล่อยแขนลงข้างลำตัว ทิ้งน้ำหนักแขนตามสบาย เรียบร้อยแล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

เมื่อจะปล่อยแขนซ้ายลง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปล่อยแขนขวา

๓. ย่อตัวลงเพื่อนั่งสมาธิโดยใช้องค์ภาวนากำหนดกิริยาตามความเป็นจริงขณะที่ ขยับเคลื่อนไหวกายตน ได้ท่าที่ถนัด พอที่จะนั่งได้นานๆ ในท่านั้น

อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถอย" พร้อมกับทำกิริยาถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง ๑ ก้าว แล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ย่อ" พร้อมกับทำกิริยาย่อตัว

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง ลง ลง" พร้อมกับทำกิริยาย่อตัวลง ๓ จังหวะ

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถูก" พร้อมกับทำกิริยาเข่าซ้ายถูกพื้น แล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ขยับ" พร้อมกับทำกิริยา ขยับขาขวา ถอยไปข้างหลัง

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับทำกิริยาขยับเข่าขวา ลง ๒ จังหวะ

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถูก" พร้อมกับทำกิริยาเข่าขวาถูกพื้น แล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

พุดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "เท้า" พร้อมกับทำกิริยาใช้มือซ้ายเท้าพื้นแล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ขยับ" พร้อมกับทำกิริยาขยับเท้าขวา-ซ้ายไปทางขวา

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "นั่ง นั่ง" พร้อมกับทำกิริยาหย่อนกันลงนั่ง ๒ จังหวะ

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถึง" พร้อมกับทำกิริยาให้สะโพกซ้ายถูกพื้น แล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกเข่าขวาขึ้น ในขณะเดียวกับให้ยกมือขวาขึ้นด้วย

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ไป" พร้อมกับทำกิริยายื่นมือขวาไปเตรียมจับข้อเท้าขวา

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "จับ" พร้อมกับทำกิริยามือขวาจับที่ข้อเท้าขวา

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกขาขวาขึ้นเล็กน้อย

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "มา" พร้อมกับทำกิริยาเลื่อนขาขวามาเหนือขาซ้าย

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "วาง" พร้อมกับทำกิริยาวางขาขวาลงบนขาซ้าย (เป็นท่านั่งสมาธิ)

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกมือขวาออกจากขาขวา

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ไป" พร้อมกับทำกิริยาเลื่อนมือขวาไปไว้เหนือเข่าขวา

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "วาง" พร้อมกับทำกิริยาวางมือขวาในลักษณะคว่ำมือลงบนเข่าขวา
ต่อไปมือซ้าย กหนดอิริยาบถตาม เช่นเดียวกับการยกมือขวา

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ขยับ จับ ดึง ปล่อย" พร้อมกับทำกิริยาอาการขยับตัว จัดดึงเสื้อผ้าให้อยู่ในท่าที่สบายเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงกำหนดอิริยาบถวางมือขวา-ซ้ายไว้บนเข่าเหมือนเดิม

๔. ยกมือซ้ายและมือขวามาวางซ้อนกันบนตัก องค์ภาวนา คือ "ยก.....หนอ, มา.....หนอ, หงาย.....หนอ, ลง.....หนอ, วาง.....หนอ"

อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกมือซ้าย (คว่ำมือ) ขึ้นให้ตั้งฉากกับลำตัว เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่ง จึงกล่าวคำว่า "หนอ"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "มา" พร้อมกับทำกิริยาเคลื่อนมือซ้ายเข้าหาตัวก่อนถึงตัวให้หยุดแล้วกล่าวคำว่า "หนอ"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "หงาย" พร้อมกับทำกิริยาหงายมือซ้ายขึ้นช้าๆ เรียบร้อย แล้วกล่าวคำว่า "หนอ"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับทำกิริยาลดมือลงจากระดับเดิมจนเกือบถึงตัก เรียบร้อยแล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

เมื่อจะยกมือขวามาวางซ้อนมือซ้าย ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการยกมือซ้ายมาวาง

๕. ขยับตั้งตัวให้ตรง องค์ภาวนา คือ "ตั้ง.....หนอ"

๖. หลับตาลงเบาๆ องค์ภาวนา คือ "ปิด.....หนอ"

๗. ในกรณีที่สวมแว่น องค์ภาวนา คือ "ยก.....ไป.....จับ, ยก.....ลง.....วาง"

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกมือขวาขึ้น

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ไป" พร้อมกับทำกิริยา เลื่อนมือขวามือไปที่แว่น

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "จับ" พร้อมกับทำกิริยาใช้มือขวาจับแว่น

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยาใช้มือขวา ยกแว่น ออกจากตา

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับทำกิริยาลดมือขวาลง

พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "วาง" พร้อมกับทำกิริยาวางแว่นลง

เมื่อเสร็จแล้ว กำหนดกิริยานำมือขวามาวางทับมือซ้ายเหมือนเดิม

๘. ต่อไปให้เอาใจ หรือสติมาพิจารณารู้ความรู้สึกพองยุบโป่งแฟบที่หน้าทอ้งเหนือสะดือ ขึ้นมา ๒ นิ้ว หายใจยาวๆ ๓-๔ ครั้ง แล้วหานใจตามปกติธรรมดา เฝ้าดูอาการโป่งแฟบนั้น เมื่อท้องโป่งให้กำหนดว่า "พอง.....หนอ" หรือ "พอง" เพียงคำเดียวก็ได้

ทั้งนี้เพราะเมื่อเริ่มต้นนั่งสมาธิใหม่ๆ นั้น ลมหายใจยังคงหยาบอยู่ จึงยังไม่สามารถกำหนดคำ "ยุบ.....หนอ" หรือ "ยุบ" เพียงคำเดียวก็ได้เรื่อยๆ ไป ข้อสำคัญพึงระลึกไว้เสมอว่า

การนั่งสมาธิกำหนด "พอง.....ยุบ" ซึ่งเกิดขึ้นที่ท้อง จึงต้องใช้สติและสมาธิจับจ้องดูการยุบการพองที่ เกิดขึ้นจากการหายใจปกติธรรมชาติ (หายใจเข้าท้องพองขึ้น หายใจออกท้องจะแฟบลง) มิใช่การบอกตนเอง ให้ตะเบ็งท้องพองขึ้นยุบลง เป็นการฝืนธรรมชาติ หากนั่งไปแล้วยังไม่สงบ เผลอคิดนั่นคิดนี่ ซึ่งเป็นธรรมดา ธรรมชาติของจิตที่ยังไม่สงบ ก็ต้องคิดนั่น คิดนี่ ไปตามเหตุปัจจัย

เมื่อรู้สึกตัวให้กำหนดว่า "คิด.....หนอ" แล้วกลับมาเฝ้าดูอาการ "พอง.....ยุบ" ที่ท้องต่อไป

ถ้าขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั่น เกิดเห็นภาพใดให้กำหนดว่า "เห็นหนอ" เพียง ๑ คำ แล้วกลับมากำหนดรู้ที่การ "พอง.....ยุบ" ต่อไป ไม่ต้องสนใจในภาพนั้น

เช่นเดียวกันเมื่อมีกลิ่นมากระทบ "จมูก" ให้กำหนดว่า "กลิ่นหนอ"

มีเสียงมากระทบ "หู" ให้กำหนดว่า "เสียงหนอ"

มี "รส" มากระทบ "ลิ้น"

ให้กำหนดตามความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น "เย็นหนอ, ร้อนหนอ" ให้กำหนดตามความรู้สึกขณะนั้น ฯลฯ

เมื่อนั่งไปแล้ว ถ้าเกิดความปวดเมื่อย ให้กำหนดรู้ในเวทนานั้นแล้ว นั่งต่อไปโดยกำหนดว่า "อดทนหนอ, พากเพียรหนอ"

ถ้ายังมีความเจ็บปวดอยู่และทนไม่ไหว ต้องการเปลี่ยนขา ขยับท่านั่งก็ให้ทำได้

โดยการกำหนด "พอง.....ยุบ" ที่ท้องมากำหนดที่เปลี่ยนท่าการขยับขา ตามความเป็นจริงให้ทันปัจจุบัน

เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงกลับไปกำหนด "พอง.....ยุบ" ตามเดิม

การออกจากสมาธิ

เมื่อนั่งมาได้เวลาพอสมควรแล้ว ให้กำหนดออกจากสมาธิ อาจจะกำหนดอิริยาบถกายบริหาร เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และเป็นการรักษาโรคโดยวิธีการธรรมชาติ

๑. กำหนดความรู้สึกว่า "อยากพักหนอ" (๓ ครั้ง)

๒. ลืมตาขึ้น ใช้องค์ภาวนาว่า "เห็น.....หนอ, (สิ่งที่เห็นเป็นรูป ใจที่รู้เป็นนาม) กระพริบ.....หนอ, เหลียว.....หนอ, เงย.....หนอ, ก้ม.....หนอ, กด.....หนอ"

อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจ ว่า ตามที่อยู่ในเครื่องหมาย "....." ทุกครั้ง

ลืมตาขึ้น "เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ"

สติกำหนดรู้ที่ต้นคอ เหลียวไปทางซ้าย "เหลียว.....หนอ ( ๓ ครั้ง) เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ, เหลียวกลับ.....หนอ, กลับ.....หนอ (๓ ครั้ง), ตรง.....หนอ , เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ"

สติรู้ที่ต้นคอ เหลียวไปทางขวา กำหนดเช่นเดียวกับที่เหลียวไปทางซ้าย,

สติกำหนดรู้ที่ต้นคอ เงยหน้าขึ้น "เงย.....หนอ (๓ ครั้ง), เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ"

สติกำหนดรู้ที่ต้นคอ ก้มหน้าลง "ก้ม.....หนอ (๓ ครั้ง), เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ, เงย.....หนอ (๓ ครั้ง), ตั้ง.....หนอ, ตรง.....หนอ, เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ"

สติกำหนดรู้ที่มือซ้าย ยกมือขึ้น (มืออยู่ท่าไหนยกขึ้นท่านั้น) "ยก.....หนอ, ไป.....หนอ, วาง.....หนอ (วางมือหงายบนเข่าซ้าย)"

สติกำหนดรู้ว่า กำมือ "กำ.....หนอ, เหยียด.....หนอ ( ๒ ครั้ง)"

มีสติกำหนดให้ได้ว่านิ้วไหนเข้านิ้วไหนออก ก่อนและหลัง, "คว่ำ.....หนอ"

สติกำหนดรู้ที่มือขวา กำหนดเช่นเดียวกับมือซ้าย,

สติ - กำหนดรู้มือทั้ง ๒ ข้าง

** กดหัวเข่าทั้ง ๒ ข้าง "กด.....หนอ, ก้ม.....หนอ, ก้ม.....หนอ (๒ ครั้ง), ถึง.....หนอ (ถ้าศรีษะถึงพื้น) หรือ ไม่ถึง.....หนอ (ถ้าศรีษะไม่ถึงพื้น ตามความเป็นจริง) ตึง.....หนอ (๒ ครั้ง), เงย.....หนอ (๒ ครั้ง), ตั้ง.....หนอ, ตรง.....หนอ"

*** สติกำหนดรู้ที่ใจ "อยากเปลี่ยน.....หนอ"

สติกำหนดรู้ที่มือซ้าย "ยกไปจับ" (จับที่ข้อเท้าซ้าย) "ยกขึ้นวาง" (ยกเท้าซ้ายวางซ้อนเท้าขวา)
สติกำหนดรู้ที่มือขวา "ยกไปวาง" (วางที่หัวเข่าขวา)
สติกำหนดรู้ที่มือซ้าย "ยกไปวาง" (วางที่หัวเข่าซ้าย)***
สติกำหนดรู้ที่มือทั้ง ๒ ข้าง กำหนดเช่นเดียวกับที่อยู่ใน เครื่องหมาย***,
สติกำหนดรู้ที่ใจ "อยากพักหนอ (๒ ครั้ง)"


ขอความสำเร็จจงบังเกิดแก่ท่านผู้ไม่ละความเพียรนั้น เทอญ สาธุ สาธุ สาธุ


สร้างเว็บแบบมืออาชีพได้อย่างง่ายๆ กับ เว็บไซต์สำเร็จรูปของ " สยามทูเว็บ " www.siam2web.com


แสดงความคิดเห็น หัวข้อ : การปฎิบัติบำเพ็ญศีลต่างๆครับ
* ชื่อ :
เช่น John
ไอคอน :
ความคิดเห็น :
อีโมชั่น :




ไฟล์ : แนบไฟล์ แนบไฟล์
Captcha :
captcha
  Enter Characters
แสดงความคิดเห็น

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  11,539
Today:  14
PageView/Month:  14

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com